Shutter Speed พื้นฐานการภ่ายภาพที่ควรรู้หลังจากรูรับแสงแล้ว
การถ่ายภาพด้วยการใช้ศิลปะขั้นเทพ คงต้องบอกเลยว่าเรื่องต่อมาที่เรียกได้ว่ามาคู่กันตลอดๆเลยก็คือค่าความเร็วชัตเตอร์เรียกได้เป็นคู่สามีภรรยากับค่ารูรับแสงกันเลยทีเดียวค่าความเร็วชัตเตอร์นั้นจะมีค่าความเปลี่ยนแปลงที่เชื่อมโยงกับค่ารูรับแสงอยู่เสมอๆความเร็วชัตเตอร์ส่วนมากแล้วจะอยู่กับทางด้านตัวกล้องมากกว่าเป็นตัวเลนส์
แต่ก็มีอยู่บางตัวที่อยู่กับตัวเลนส์เหมือนกัน นั้นก็เลยเป็นที่บอกว่า รูรับแสงอยู่ที่เลนส์ความเร็วชัตเตอร์อยู่ที่กล้อง ก็เลยเหมือนคู่สามีภรรยาเลยล่ะค่าความเร็วชัตเตอร์นั้นมีผลอย่างมากกับความไหวของภาพซึ่งตรงจุดนี้จะขึ้นอยู่กับแสงเป็นหลักว่าจะใช้ความเร็วชัตเตอร์ได้ขนาดไหน

ความเร็วชัตตเตอร์ ในสมัยเป็นกล้องฟิล์ม
ความเร็วชัตเตอร์เป็นอะไรที่สำคัญมากกว่าสมัยยุคกล้องดิจิตอลที่เรียกได้ว่ามีเครื่องมือช่วยเหลือเจ้าตัวความเร็วชัตเตอร์อย่างมากทีเดียวความเร็วชัตเตอร์จะสามารถสูงขึ้นได้อีกก็ต่อเมื่อมีเมียที่ดีอย่างเลนส์ที่มีค่ารูรับแสงได้ยิ่งกว้างขึ้น แต่นั้นก็หมายถึงยิ่งแพงขึ้นด้วยเช่นกัน แต่กล้องสมัยนี้ก็มีการปรับค่า isoที่เป็นตัวช่วยสำคัญให้ Auto ได้ทุกขณะของภาพด้วย
นั้นทำให้เค่าความเร็วชัตเตอร์จะไม่น้อยเกินไปจนทำให้ถ่ายภาพไม่ได้ยังไงล่ะแต่เรามากันกับเหตุที่ไม่มีค่า iso มาเกี่ยวจะดีกว่า การที่เราไปถ่ายที่แสงน้อยแล้วทำให้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำลงไปเรื่อยก็จะทำให้ภาพที่ออกมานั้นมีสิทธิที่จะเบลอจากการสั่นของมือหรือว่าภาพสั่นไหมด้วยตัวแบบก็ตาม นั้นก็จะทำให้ภาพนั้นใช้การไม่ได้
ก็สามารถใช้วิธีง่ายๆอย่างใช้ขาตั้งกล้องมาช่วยเพื่อให้เกิดความนิ่งขึ้นค่าความเร็วชัตเตอร์นั้นถ้าเร็วก็จะทำให้เราสามารถถ่ายเด็กๆที่วิ่งเล่น หรือกีฬาต่างๆหรือบางทีถึงขั้นจับความเร็วรถแข่งได้เลยล่ะ ซึ่งเทคนิคในการใช้ขาตั้งกล้อง อ่านเพิ่มได้ทีนี่ >> เทคนิคใช้ขาตั้งกล้อง
แต่การที่มีความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าๆนั้นก็ใช่ว่าจะไม่มีข้อดีนะ
มีคนสร้างสรรค์งานถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ช้าๆอยู่มากมายอย่างการเก็บภาพลากไฟของแสงต่างๆทำให้เกิดเป็นไฟเส้นๆสวยงาม